Thursday, October 3, 2013

เปิดเผย...วิธีสอนลูกแบบ `ลีกาชิง´ ลีกาชิง (Li Ka-Shing) มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งแห่งเอเชีย ชาวฮ่องกง




ตอนที่ ลีกาชิงอายุ 40 ปีต้นๆ ลูกชายทั้งสองของเขาในวัยยี่สิบกว่าปี ก็สามารถเป็นนักธุรกิจที่โดดเด่นทั้งในฮ่องกงและระดับโลก 

• ลูกชายคนโต ลีเจ๋อจวี๋ หรือ วิกเตอร์ ลี (Victor Li) เป็นรองประธานบริษัทฮัทชิสัน วัมเปา - ทำธุรกิจหลายประเภท ทั้งในประเทศฮ่องกง แคนาดา ยุโรป ฯลฯ เช่น ท่าเรือ การแลกเปลี่ยนเงินตรา โทรศัพท์ ฯลฯ ...และ บริษัทเฉิงคง ซึ่งทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกง สร้างตึกและอพาร์ตเมนต์มากกว่า 70,000 แห่ง 

• ลูกชายคนที่สอง ลีเจ๋อเจีย หรือ ริชาร์ด ลี (Richard Li) เป็นเจ้าของบริษัทชื่อ PCC เน้นทำธุรกิจสื่ออินเทอร์เน็ต ทั้งในประเทศฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ฯลฯ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฮ่องกง 



ลีกาชิง มีวิธีสอนลูก... ให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร :::::::::::::::::: 

ลีกาชิงก่อตั้งบริษัทครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1960 ขณะนั้นเขามีอายุเพียง 22 ปี กระทั่งมีลูกชายช่วงกลางทศวรรษที่ 1960 ปี ค.ศ.1972 ขณะลูกชายกำลังเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา บริษัทเฉิงคง อุตสาหกรรมพลาสติกของเขา ก็ก้าวขึ้นเป็นบริษัทหมายเลขหนึ่งของฮ่องกง 

เมื่อลีกาชิงประสบความสำเร็จทางธุรกิจแล้ว... เขาได้ให้ลูกชายชั้นประถมศึกษาทั้งสองเข้าฟังการประชุมกรรมการบริษัท ตอนนั้นวิกเตอร์มีอายุ 9 ขวบ ส่วนริชาร์ดอายุ 7 ขวบ ลูกชายทั้งสองต้องนั่งเก้าอี้สำหรับเด็กเพื่อฟังการประชุมครั้งนั้น ลีกาชิงไม่ได้สนใจว่าลูกชายจะเข้าใจเนื้อหาที่ประชุมหรือไม่ การประชุมกรรมการบริษัทเฉินคงไม่ได้ให้ยกมือเห็นด้วยตามคำพูดของประธาน แต่ให้ยืนยันว่าตัวเองถูกต้อง ดังนั้นเมื่อลูกชายทั้งสองได้เห็นการถกเถียงอย่างรุนแรง จึงคิดว่าพวกเขากำลังทะเลาะกันอยู่ ขณะที่ทุกคนในที่ประชุมกำลังถกเถียงกันอย่างหนัก วิกเตอร์และริชาร์ดก็เริ่มร้องไห้เสียงดัง ลีกาชิงหันไปพูดกับลูกที่กำลังร้องไห้ตกใจอยู่ว่า “อย่าร้องไห้ พวกเรากำลังถกเถียงกันเพื่อบริษัท นี่เป็นเรื่องปกติ ถ้าไม่ถกเถียงกันให้รู้เรื่อง ก็ไม่อาจสรุปเรื่องที่คุยกันได้แน่ชัด เหมือนเช่น ถ้าเราไม่เจาะรูไม้ น้ำจะไม่สามารถผ่านไปได้” :::::::::::::::::: 

ภายหลังลีกาชิงได้อธิบายเหตุผลที่พาลูกชายเข้าประชุมว่า... “การที่ผมให้ลูกชายทั้งสองเข้าร่วมการประชุมกรรมการบริษัท ไม่ได้อยากสอนพวกเขาว่าควรทำธุรกิจอย่างไร แต่อยากให้รู้ว่าธุรกิจนั้นยากเพียงใด ต้องมีความพยายามเท่าไร มีการประชุมมากแค่ไหน งานถึงจะสำเร็จได้” การที่เด็กชั้นประถมศึกษาวัย 8-9 ขวบจะเข้าใจเรื่องธุรกิจอย่างละเอียดเป็นไปได้ยาก เนื้อหาส่วนใหญ่ของการประชุมกรรมการบริษัทมักจะโต้แย้งกันเรื่องสัญญาและการลงทุน จึงเป็นเรื่องที่ไกลตัวเด็กชั้นประถม แต่ลีกาชิงคิดว่า เมื่อลูก ๆ ได้เห็นภาพการโต้แย้งในที่ประชุมกรรมการบริษัท ลูกจะได้รู้ว่า “งานที่พ่อทำเพื่อหาเงินไม่ใช่งานง่ายเลย” เขาคิดว่าจะไม่ยอมเลี้ยงลูกให้เป็น “ดอกไม้ในเรื่อนกระจก” คือ ให้ลูกถูกห้อมล้อมโดยผู้รับใช้ชั้นสูง อีกทั้งรับการศึกษาด้านบริหาร และมาทำงานที่บริษัท :::::::::::::::::: 

เมื่อลูกชายคุ้นเคยกับบรรยากาศการประชุมกรรมการบริษัทแล้ว... ก็เริ่มให้พูดคุยในที่ประชุม ในวันหนึ่งได้มีหัวข้อประชุมเรื่องเปอร์เซ็นต์หุ้นของบริษัทที่ลงทุนใหม่ ลีกาชิงบอกว่า “ผมคิดว่าถ้า 10 เปอร์เซ็นต์ น่าจะดำเนินได้กำลังดีแต่คิดว่า 11 เปอร์เซ็นต์ก็น่าจะเป็นไปได้ แต่แค่ 9 เปอร์เซ็นต์ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ถ้าเช่นนั้นขอเป็นที่ 9 เปอร์เซ็นต์ละกันครับ” อาจเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ไม่สูงมาก... แต่ลีกาชิงคิดว่าน่าจะเพียงพอต่ออำนาจในการบริหารงาน คณะกรรมการคนอื่น ๆ ต่างเห็นด้วยกับความคิดเห็นของเขา แต่ทว่าวิกเตอร์ ลูกชายคนโตในวัย 11 ขวบลุกขึ้นยืนพร้อมพูดว่า... “ผมไม่เห็นด้วยกับคุณพ่อครับ ผมคิดว่าถ้าบริษัทเรามีหุ้น 11 เปอร์เซ็นต์ น่าจะมีกำไรมากกว่า” และริชาร์ด ลูกชายคนเล็กก็พูดขึ้นบ้างว่า “9 เปอร์เซ็นต์มันดูเจียมตัวไปหน่อยนะครับ” กรรมการคนอื่น ๆ ที่เห็นลูกชายของลีกาชิงคัดค้านความคิดเห็นของพ่อ ก็แทบกลั้นหัวเราะไว้ไม่อยู่ การโต้แย้งในที่ประชุมจึงเปลี่ยนเป็นความสุข ลีกาชิงบอกลูกว่า... “ลูกเข้าใจธุรกิจลึกซึ้งขึ้นแล้ว แต่ธุรกิจไม่ง่ายเหมือน ‘หนึ่งบวกหนึ่ง’ อาจคิดว่าต้องมากถึง 11 เปอร์เซ็นต์ จึงจะได้กำไรมากมาย แต่ความจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้น ถึงแม้มีหุ้นแค่ 9 เปอร์เซ็นต์ตามความคิดเห็นของพ่อ ภายหลังบริษัทมีผลประกอบการดี กำไรที่ได้รับจึงเท่ากับที่เคยคาดการณ์ว่าควรลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์" หากสมมติว่าการประชุมกรรมการบริษัทมีแต่คนเห็นด้วยและคล้อยตามความเห็นของลีกาชิงเท่านั้น ลูกชายของเขาคงไม่สามารถเรียนรู้ธุรกิจได้ ลีกาชิงมีความพยายามให้ลูก ๆ ได้เห็นโลกธุรกิจได้แจ่มชัด จึงให้มาเห็นภาพการโต้เถียงในที่ประชุม ลูกชายทั้งสองของเขาได้เรียนรู้ความสามารถในด้านการตัดสินใจจำเป็นอย่างยิ่งในโลกธุรกิจอันแสนโหดร้าย :::::::::::::::::: 

เมื่อลูกชายทั้งสองเรียนจบชั้นปริญญาตรีและปริญญาโท ลีกาชิงไม่เคยบอกลูกว่า “มาทำงานที่บริษัทของพ่อสิ” กรรมการคนหนึ่งได้ถามความเห็นเขาว่าจะให้ลูกชายที่เรียนจบแล้วเข้าเป็นกรรมการหรือไม่ ทำให้ลีกาชิงออกปากตำหนิ พร้อมกับบอกว่า... การที่ให้ลูกชายในวัยเด็กเข้าประชุมกรรมการบริษัทเพราะอยากให้ลูกได้รู้จักโลกธุรกิจ แต่ถ้าจะให้ลูกชายที่โตแล้วเข้าร่วมเป็นกรรมการบริษัท ก็เพราะเห็นแววทายาทแล้วเท่านั้น ลีกาชิงเคยบอกลูกชายคนโตว่า “ไหนลองพิสูจน์ให้พ่อเห็นหน่อยสิว่า ลูกมีความสามารถพอที่จะทำงานบริษัทพ่อได้” เขาวางแผนให้ลูกชายไปทำธุรกิจที่แคนาดา เพื่อเป็นการทดสอบความสามารถด้านธุรกิจของลูก ในช่วงกลางทศวรรษ 1980 วิกเตอร์ได้รับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ลีกาชิงเป็นนักธุรกิจฮ่องกง แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับประเทศแคนาดา ดังนั้นสิ่งนี้จึงเท่ากับบอกลูกชายว่า “ให้ไปธุรกิจที่แผ่นดินโพ้นทะเล” ลีกาชิงโทรศัพท์ไปถามลูกชายที่อยู่ประเทศแคนาดาว่า “ต้องการอะไรรึเปล่า” ลูกชายตอบว่า “พ่อครับ ความยากลำบากเป็นสิ่งที่มีอยู่เสมอ ผมจะแก้ไขปัญหาเองครับ” :::::::::::::::::: 

ปี ค.ศ. 1986 วิกเตอร์จ้องมองลู่ทางในการพัฒนาที่ดินที่เคยจัดทำนิทรรศการแวนคูเวอร์ ที่ดินนี้เป็นความหวังในการทำธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์แคนาดา มีพื้นที่อยู่ใจกลางนครแวนคูเวอร์ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ มีคนบางส่วนรู้สึกว่า เขาเป็นคนนอก แต่จะมาพัฒนาที่ดินด้วย แต่เพราะวิกเตอร์เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ประเทศแคนาดา จึงเปลี่ยนสัญชาติเป็นแคนาดาเรียบร้อยแล้ว ตามการรายงานของสื่อฮ่องกงวิกเตอร์ได้พบคนทุกสาขาอาชีพมากกว่า 20,000 คน เพื่อพูดโน้มน้าวใจ อีกทั้งยังทำประชาพิจารณ์มากกว่า 200 ครั้ง ท้ายที่สุดในปี ค.ศ. 1988 วิกเตอร์ได้รับโปรเจคท์พัฒนาที่ดินให้ทำเป็นนิคมหมู่บ้าน การวางแผนวิกเตอร์กับความพยายามของพ่อ ทำให้เขาได้รับการยอมรับจากกรรมการบริษัทเป็นอย่างมาก เมื่อเขากลับมาที่ฮ่องกง จึงเข้าทำงานที่บริษัทเฉินคง วิกเตอร์รับหน้าที่บริหารทั้งในฮ่องกงและแคนาดา จึงต้องบินไปกลับฮ่องกงกับแคนาดาปีหนึ่งมากกว่า 20 ครั้ง :::::::::::::::::: 

ส่วน ริชาร์ด ลูกชายคนที่สอง หลังจากเรียนจบก็ไม่ได้เข้าทำงานที่บริษัทของพ่อเช่นกัน เขาลองทำงานที่ธนาคารลงทุนแห่งหนึ่งในแคนาดา หลังจากทำงานได้สามปี เขาก็ถูกเรียกตัวไปทำงาน โดยให้เริ่มทำงานในตำแหน่งพนักงานทั่วไปที่บริษัทฮัทชิสัน วัมเปา ริชาร์ดวางแผนที่จะพัฒนา “สตาร์ทีวี” สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมแห่งแรกของเอเชีย ปี ค.ศ. 1991 เขาขอยืมเงินลีกาชิง 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3,750 ล้านบาท) เพื่อเริ่มธุรกิจสตาร์ทีวี และใน ปี ค.ศ. 1995 ได้ขายธุรกิจให้แก่เซอร์คีท รูเพิร์ตด็อก มหาเศรษฐีด้านสื่อในราคา 950 ล้านดอลลาร์ (28,500 ล้านบาท) ในเวลานั้นริชาร์ดอายุ 29 ปี ธุรกิจของเขาถือเป็น “บิ๊กดีล” (big deal) หรืองานใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของธุรกิจเอเชีย เขาคืนเงินที่ยืมพ่อมาทั้งหมด และนำเงินกำไรที่เหลือไปเปิด บริษัท PCC ด้านสื่อและอินเทอร์เน็ต เป็นเอกเทศจากพ่อตัวเอง ::::::::::::::::::

ที่มา:
1. https://www.facebook.com/MarueyLibrary
2. https://www.facebook.com/photo.php?fbid=665685396775044&set=a.179924885351100.47651.130257473651175&type=1&relevant_count=1

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment