Sunday, September 29, 2013

โลกอายุยืนอีก 1.75 พันล้านปี ก่อนกลายเป็นดาวน้ำแข็ง



นักวิทย์เผยโลกจะเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตได้อีกไม่ต่ำกว่า 1.75 พันล้านปี ก่อนจะเคลื่อนตัวไกลจากดวงอาทิตย์จนกลายเป็นดาวน้ำแข็ง


          เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2556 เว็บไซต์นิวยอร์กเดลี่นิวส์ รายงานว่า แอนดรูว์ รัชบี้ นักชีวดาราศาสตร์และทีมนักวิจัย ได้ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์คาดการณ์ออกมาว่า โลกใบนี้จะเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตได้อีกไม่ต่ำกว่า 1.75 พันล้านปี ก่อนที่จะกลายเป็นดาวน้ำแข็งเพราะเคลื่อนตัวห่างจากดวงอาทิตย์ไกลออกไปเรื่อย ๆ

          โดยหากอ้างอิงตามหลักการของนาซา ดาวที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้นั้น จำเป็นต้องมีน้ำอยู่ด้วย เนื่องจากน้ำเป็นต้นกำเนิดของชีวิต ซึ่งดาวที่เอื้อต่อการมีชีวิตนี้ ก็จะต้องมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ในระยะที่ไม่ใกล้เกินไปและไม่ไกลเกินไป เพราะใกล้เกินไปจะทำให้ร้อนจนน้ำระเหยไปหมด ในขณะที่หากอยู่ไกลเกินไป น้ำก็จะกลายเป็นน้ำแข็งไปในที่สุด และโลกที่เราอยู่นี้ ก็เป็นดาวที่อยู่ในเขตเอื้อชีวิต

          แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น นักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่าการโคจรของดาว ทำให้ระยะของดวงดาวมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา และในทุก ๆ ปีเราน่าจะถอยห่างจากดวงอาทิตย์ไป 1 เมตร ซึ่งเมื่อเป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ โลกของเราอาจจะเย็นขึ้น และเมื่อผ่านไปนับพันล้านปี น้ำก็จะเริ่มกลายเป็นน้ำแข็งจนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ในที่สุด โดยนักวิทยาศาสตร์คาดว่า กว่าที่โลกจะโคจรพ้นจากเขตเอื้อชีวิตไปสู่เขตห่างไกลดวงอาทิตย์จนสิ่งมีชีวิตอยู่ไม่ได้ ก็ต้องอาศัยเวลาอีกไม่ต่ำกว่า 1.75 พันล้านปี หรืออาจจะยาวนานถึง 3.25 พันล้านปีเลยด้วยซ้ำ
          ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าโลกของเราอยู่ในตำแหน่งที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้มาราว 6.3-7.8 พันล้านปีแล้ว ดังนั้นหากโลกถึงจุดจบในอีก 1.75 พันล้านปีจริง ๆ ก็เท่ากับว่าเวลาที่ผ่านมา เราได้ใช้โลกเป็นที่อยู่อาศัยมานานราว 70% ของอายุโลกในช่วงที่เอื้อต่อการมีชีวิต นับว่าเป็นเวลาที่ยาวนานมากเลยทีเดียว


ที่มา:

Do all animals need sleep?



It might seem natural, but as Maddie Moate from Earth Unplugged explains scientists still don’t know whether every species needs a snooze – especially as it is difficult explaining what sleep actually is.
For something that takes up a third of our life, we actually know very little about why we need sleep – though we do know that it is essential, and that we struggle without it.
Sleep has a vague definition: having a state of immobility that can quickly be reversed, combined with a greatly reduced rate of responsiveness to stimuli. Due to the difficulties in explaining what sleep actually is and the lack of research outside of birds and mammals, scientists tend to be a little hesitant when attributing the word sleep to reptiles, fish and especially invertebrates, and prefer to use the term rest instead.
However research in flies, zebrafish and and nematode worms show changes in gene expression show differences between “sleep” and “wakefulness” similar to those seen in mammals, which suggests they do sleep, at least how we define it.
But it’s more complex than that. Some animals like whales and dolphins have unihemispheric sleep, which means one half of their brain can rest while the other half remains alert.
ที่มา:

Saturday, September 28, 2013

โรคกลัวรู ภาวะโฟเบียที่อาจร้ายแรงกว่าที่คิด



           ในโลกใบนี้มีคนที่เป็นโรคกลัวอะไรแปลก ๆ เยอะแยะไปหมด ซึ่งทำให้เวลาที่เห็นวัตถุอะไรที่แม้จะดูไม่อันตรายเลยแม้แต่น้อย แต่ก็เล่นเอากลัวจนร้องไห้ได้เลยทีเดียว และวันนี้ กระปุกดอทคอมก็จะขอนำทุกคนไปรู้จักกับอีกหนึ่งภาวะโฟเบียที่เชื่อว่าคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่กำลังประสบอยู่ นั่นคือ โรคกลัวรู หรือ ทริโปโฟเบีย (Trypophobia) จะมีอาการอย่างไร และเป็นภาวะที่ส่งผลร้ายแรงไหม ไปติดตามกันดูครับ

           โรคกลัวรู หรือ ทริโปโฟเบีย (Trypophobia) เป็นภาวะของคนที่มีอาการกระอักกระอ่วน ไม่อยากมองไม่อยากเข้าใกล้วัตถุที่มีลักษณะเป็นรูกลวงโบ๋ หรือมีเม็ดโผล่ออกมาจากรู ซึ่งไม่ใช่แค่ภาพรูในลักษณะผิดธรรมชาติ อย่างเช่น รูที่ปรากฏตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เนื้อผิวหนัง หรือต้นไม้เท่านั้น แต่รวมไปถึงภาพธรรมดาทั่วไปแต่มีรูปรากฏอยู่ ได้แก่ ฟองน้ำ ปะการัง เมล็ดพืช หรือแม้แต่วงกลมตามร่างกายของสัตว์เลยทีเดียว ถ้าหากเห็นแล้วจะรู้สึกเกิดอาการคันยุกยิก ขนลุก หรือรู้สึกขยะแขยง บางคนถึงขั้นตัวสั่น อาเจียน เข่าอ่อน และไม่สบายไปเลยก็มี

           สำหรับสาเหตุของภาวะดังกล่าวนี้ จากการวิจัยของ อาร์โนด์ วิลกินส์ และจีออฟ โคล จากสถานบันจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแห่งเอสเซกซ์ สหราชอาณาจักน ระบุว่า อาการที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากความรู้สึกขยะแขยง มากกว่าความกลัวอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะความกลัวนั้นจะต้องมาจากการที่สมองนำภาพที่เห็นไปเชื่อมโยงกับบางสิ่งบางอย่างที่อันตราย แต่ภาวะดังกล่าวกลับไม่ใช่ เพราะผู้ป่วยมักจะมีความรู้สึกกระอักกระอ่วนต่อทุก ๆ อย่างที่ถึงแม้ว่าจะรู้ดีว่าไม่มีอันตรายเลยแม้แต่น้อย


           ดังเช่นในกรณีของ สเตฟานี่ อินกาเมลส์ วัยรุ่นสาวชาวอังกฤษที่เกิดอาการกลัวมัฟฟิน เนื่องจากผิวของขนมปังดังกล่าวมีลักษณะเป็นหลุมเป็นบ่อ ตะปุ่มตะป่ำ ซึ่งสิ่งนี้เองที่ทำให้เธออาเจียนออกมาทุกครั้งหลังจากที่เห็นภาพของขนมปังดังกล่าว และมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องแอดมิตเข้าโรงพยาบาลกันเลยทีเดียว

           นอกจากนี้พวกนักจิตวิทยายังให้คำอธิบายเพิ่มเติมว่า การที่คนรู้สึกกลัวหรือไม่ชอบภาพอะไรก็ตามที่มีรูเยอะ ๆ อาจเป็นเพราะพวกเขาเคยมีประสบการณ์เลวร้ายเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นมาก่อน ทั้งที่เกิดจากการกระทำของคนด้วยกันเอง หรือสัตว์ต่าง ๆ ที่เคยเรียนรู้มาว่าเป็นอันตรายและควรหลีกเลี่ยง อย่างเช่น ตัวอย่างของชายที่เป็นหนึ่งในกลุ่มตัวอย่าง บอกว่าเขารู้สึกหวาดกลัวเมื่อเห็นรูปทรงกลม ๆ บนตัวปลาหมึกวงแหวนสีน้ำเงิน

           แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นอกเหนือจากสัตว์มีพิษเหล่านั้นแล้ว ยังมีสิ่งของอื่น ๆ ที่สามารถนำไปสู่ความกลัวได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น เมล็ดฝักบัว หินพัมมิส หลุมในเนื้อฟัน รูขุมขนหรือตัวรับสัญญาณของปลาฉลาม รูในผนังคอนกรีต ไม้ที่โดนแมลงเจาะ ภาพขยายของรูขุมขน หลุมบนผนังที่เกิดจากการผุกร่อนไขกระดูก รังตัวต่อ รังผึ้ง รังมด และฟองแป้งในเนื้อขนมปัง

           ทั้งนี้ คำว่า Trypophobia นั้น เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า "Trypo" ซึ่งหมายถึง การเจาะ การกด หรือหลุมและตะปุ่มตะป่ำต่าง ๆ ดังนั้นเมื่อมีการเติมคำว่า "Phobia" ซึ่งหมายถึง อาการกลัว หรือโรคกลัวอะไรสักอย่างต่อท้ายไป ก็เลยได้เป็นความหมายโดยรวมที่ว่า Trypophobia คือโรคหรืออาการของคนที่หวาดกลัวกับใด ๆ ก็ตามที่มีลักษณะเป็นหลุมเป็นบ่อ ตะปุ่มตะป่ำ หรือมีพื้นผิวที่ขรุขระนั่นเอง

ที่มา:
1. http://fb.kapook.com/health-72342.html

ทางช้างเผือก (THE MILKY WAY)





        ในบรรดากาแล็กซีจำนวนมากที่รวมกันเป็นเอกภพนั้น มีอยู่กาแล็กซีหนึ่งที่เรารู้จักกันดีที่สุด นั่นคือ ทางช้างเผือก เนื่องจากเป็นกาแล็กซีที่เราตั้งรกรากอยู่  และเนื่องจากว่าทางช้างเผือกนี้มีส่วนปลายด้านหนึ่งเป็นแนวราบซึ่งเป็นที่อยู่ของดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ทั้งหลายที่เป็นดาวบริวาร  ทำให้เราได้แต่เฉพาะด้านข้างของมันเมื่อมองไปบนฟ้าในเวลากลางคืน  และจะแลเห็นมันเป็นเหมือนแถบสีขาวสว่างสุกใสแถบหนึ่งพาดอยู่บนฟากฟ้าจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง


File:ESO-VLT-Laser-phot-33a-07.jpg

ประวัติ (HISTORY)
           
     อริสโตเติล (Aristotle) คิดว่าแถบสีขาวที่พาดข้ามฟ้าเป็นความปั่นป่วนอย่างหนึ่งของบรรยากาศในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อมีการสร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้นได้เป็นครั้งแรกแล้วนั้น  กาลิเลโอก็ได้พบว่าแถบสีขาวนี้แท้ที่จริงประกอบขึ้นด้วยดาวฤกษ์จำนวนมากและไม่ได้เป็นปรากฎการณ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบรรยากาศของโลกเราเลยแม้แต่น้อย  ต่อมาก็ได้มีการค้นพบดาวฤกษ์ใหม่ ๆ ทีละดวงสองดวง และตั้งแต่นั้นมา คำว่าทางช้างเผือก (the Milky Way) ก็มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าเอกภพ (the Universe) แต่ครั้นถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 อันเป็นยุคที่มีการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ใหม่  กลับพบว่ามีหมู่ของดาวฤกษ์ (Clusters of Stars) อื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกเป็นจำนวนมหาศาล  นั่นคือกาแล็กซีใหม่จำนวนมาก  ดังนั้นเอกภพจึงไม่ใช่เป็นแค่ทางช้างเผือกอีกต่อไป  แต่มันคือที่รวมของกาแล็กซีต่าง ๆ รวมทั้งกาแล็กซีของเราด้วย


รูปร่างของกาแล็กซีของเรา (THE SHAPE OF OUR GALAXY)
           เมื่อเรามองทางช้างเผือก  เราจะแลเห็นว่ามันเป็นรูปแถบยาวแถบหนึ่ง  แต่นั้นเป็นแต่สิ่งที่เราเห็นด้วยตา เพราะว่าเราอยู่ในระนาบเดียวกัน  ที่จริงแล้วทางช้างเผือกเป็นกาแล็กซีรูปเกลียวก้นหอย (spiral)  ที่ตรงกลางมีรูปคล้ายเลนส์หรือจานแบนใบหนึ่งและมีแขนยื่นออกมาจากส่วนกลางนั้น 4 แขน  ดวงอาทิตย์และโลกของเราอยู่ตรงปลายสุดของ 1 ใน 4 แขนนี้


วิวัฒนาการของทางช้างเผือก (EVOLUTION OF THE MILKY WAY) 
            ดูเหมือนว่าทางช้างเผือกนั้นแต่เดิมเป็นกาแล็กซีรูปทรงกลมที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วต่ำ  ต่อมาเมื่อสสารระหว่างดวงดาวตรงใจกลางมีมากขึ้นทำให้มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นและความเร็วในการหมุนรอบตัวเองก็เพิ่มขึ้นด้วย  เป็นเหตุให้มันค่อย ๆ  แผ่เบนออกกลายเป็นรูปจานอย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน  และเพราะว่ามีดาวฤกษ์ได้ก่อตัวขึ้นตรงบริเวณชายขอบจานทำให้เกิดเป็นแขนหลายแขนยื่นออกมา  จนในที่สุดก็เกิดเป็นรูปเกลียวก้นหอยรูปหนึ่งที่มีแขน 4  แขน  กระบวนการนี้กินเวลาประมาณ 10,000 ล้านปี    ใจกลางของทางช้างเผือกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ  15,000  ปีแสง  และมีความหนาราว  2,000  ปีแสง    มีการคำนวณกันว่าทางช้างเผือกประกอบขึ้นด้วยดาวฤกษ์ประมาณ  300,000  ดวง  ดาวทุกดวงที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซีของเรา


ที่มา:

Friday, September 27, 2013

ประวัติ ของ ไพ่ป๊อก

ไพ่ป๊อก หรือเรียกกันทั่วไปว่า ไพ่ ทำจากแผ่นพลาสติกหรือกระดาษแข็งขนาดประมาณฝ่ามือใช้เพื่อการเล่นเกมไพ่ มีรูปร่างและจำนวนหน้าหรือใบแตกต่างกันไปตามชนิดของไพ่ แต่ชนิดหรือแบบที่นิยมมากที่สุด หน้าไพ่แบบชาติตะวันตก คือไพ่หนึ่งสำรับจะมีจำนวน 52 ใบ ใน 52 ใบ จะหมายถึง สัปดาห์ทั้งหมดใน 1 ปี มี 52 สัปดาห์ เมื่อนำเลขมาบวกกันแล้วจะได้ 365 วัน ก็เท่ากับ 1 ปี


ว่ากันว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากฮินดูสถาน ในปีคริสต์ศตวรรษที่ 7 ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 1953 มีชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อว่า นายเกิง โกเนอร์ (Gungoneur) ได้เป็นผู้คิดค้นทำไพ่ป๊อกขึ้นโดยคิดจำนวนของไพ่ป๊อกที่ใช้เล่นซึ่งมีจำนวน 52 ใบ โดยให้ตรงกับจำนวนสัปดาห์ใน 1 ปี
โดยมีหน้าไพ่ 4 หน้า คือ
1.โพธิ์ดำ

2.โพธิ์แดง 

3.ข้าวหลามตัด 

4.ดอกจิก
ความหมายเกี่ยวกับกาลเวลาของวันคือ
1.สีแดงหมายถึง กลางวัน
2.ส่วนสีดำหมายถึง กลางคืน
  
 
 
โดยจะแบ่งออกเป็นตามฤดูกาล, วัยอายุ, กษัตริย์ เรียงตามลำดับดังนี้
1.โพธิ์แดง คือ ฤดูใบไม้ผลิ, วัยเยาว์หรือเด็ก, ชาร์เลอมองค์ (Charlemagne)
2.ข้าวหลามตัด คือ ฤดูร้อน, วัยหนุ่มสาวหรือวัยรุ่น, อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)
3.ดอกจิก คือ ฤดูใบไม้ร่วง, วัยกลางคน หรือวัยหนุ่มใหญ่, จูเลียสซีซาร์ (Julius Caesar)
4.โพธิ์ดำ คือ ฤดูหนาว, วัยชราหรือสูงอายุ, กษัตริย์เดวิด (David)
 
 
 
 


ตัวควีน หมายถึง พระนางคลีโอพัตรา (Cleopatra) พระนางเอสเธอร์ (Esther) พระนางแห่งซีบาร์ (Sheba) และ พระนางโบดิเซีย (Boadicea) เป็นตัวแทนของไพ่ควีน และแหล่า Jack ก็หมายถึงวีระบุรุษคนสำคัญต่างๆ ของโลก ของแถมๆ
1.โพธิ์แดง คือ ความรัก
2.ดอกจิก คือ ความรู้
3.ข้าวหลามตัด คือ สินทรัพย์
4.โพธิ์ดำ คือ ความตาย
K Q J จะหันหน้าเข้าหา โพธิ์แดง ดอกจิก และข้าวหลามดำ แล้วหันหลังให้โพธิ์ดำ ( ความตาย )
หนึ่งในนั้น นอกนั้นเป็นกษัติย์ที่มีหนวดเคราหมด
ไม่มีใครรู้ว่าแท้ที่จริงแล้วอเล็กซานเดอร์มหาราชมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร แต่โดยทั่วไปแล้ว เชื่อว่าพระองค์เป็นชายหนุ่มรูปร่างเล็ก ไม่มีหนวดมีเครา แทบไม่มีเค้าว่าเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่เลย ผมของพระองค์เป็นสีบลอนด์หยิกเป็นลอน บ้างก็บอกว่าดวงตาของพระองค์ข้างหนึ่งเป็นสีฟ้า อีกข้างเป็นสีดำ เป็นสัญลักษณ์บอกว่าในภายภาคหน้าพระองค์จะเป็นผู้ครองทั้งยุโรปและเอเชีย บ้างก็บอกว่า โดยปกติแล้วเมื่อทรงประทับอยู่กับที่ คอของพระองค์จะเอียงเล็กน้อยพองาม
และนายเกิง โกเนอร์ ผู้นี้เองที่เป็นผู้ที่กำหนดไพ่ขึ้นมาแต่ละใบซึ่งล้วนมีความหมาย และ ปัจจุบันน้อยคนนักที่จะทราบที่มาของไพ่ป๊อกนี้
ที่มา:

“การจำนำสินค้าเกษตร vs การประกันราคาสินค้าเกษตร” กับสาระที่มักจะถูกมองข้าม (ตอนที่ 1)



File:Maler der Grabkammer des Sennudem 001.jpg


ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงความแตกต่างระหว่างการจำนำสินค้าเกษตรกับการประกันสินค้าเกษตรจากมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์เท่านั้น และขอกล่าวกับท่านผู้อ่านก่อนว่าในบทความนี้จะไม่มีการวิเคราะห์ในมุมมองของการบริหาร, การเมือง,การทุจริตคอรัปชั่น ฯลฯ เนื่องจากสิ่งเหล่านั้นเป็นปัจจัยที่ไม่ได้เกิดจากสาระสำคัญของ “การจำนำ” และ “การประกัน” แต่สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาของการปฏิบัติของผู้ที่จะนำไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้หากผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจในปัญหาและมีความจริงใจในการจัดการ
ผมเคยได้ยินผู้คนมากมายวิพากษ์วิจารณ์ถึงการจำนำสินค้าเกษตรและการประกันว่านโยบายใดนั้นจะส่งผลดีกว่ากัน แต่ในความเป็นจริงนั้นเราไม่สามารถสรุปได้ว่านโยบายใดเหนือกว่าทั้งนี้เนื่องจากการที่จะสรุปได้ว่าสิ่งใดดีกว่านั้นขึ้นอยู่กับสถานะภาพผู้พูดเช่นกัน ในตอนที่ 1 เราจะเริ่มจากการวิพากษ์ถึงหัวใจของการจำนำสินค้าเกษตรก่อน และตามมาด้วยการประกันราคาสินค้าเกษตรในตอนที่ 2 ครับ

การจำนำสินค้าเกษตร
การจำนำสินค้าเกษตรเป็นการที่รัฐบาลจะใช้งบประมาณจำนวนหนึ่งในการรับจำนำสินค้าเกษตรเหมือนกับการที่โรงรับจำนำรับสินค้าที่ทั่วไป คือ ผู้รับจำนำจะให้เงินกับผู้ที่นำของมาจำนำ และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาผู้ที่มาจำนำจะต้องทำการไถ่ถอนสินค้าคืนจากผู้รับจำนำโดยการชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย มิฉะนั้นผู้รับจำนำก็จะทำการยึดสินค้านั้นไป
การจำนำสินค้าเกษตรโดยรัฐบาลนั้นแตกต่างไปเพียงเล็กน้อย เนื่องจากผู้รับจำนำ (ในที่นี้คือรัฐบาล)จะทำการรับจำนำสินค้า(เช่น ข้าว เป็นต้น)ด้วยราคาที่สูงกว่าท้องตลาด จึงเป็นธรรมดาที่การไถ่ถอนนั้นจะไม่เกิดขึ้น ดังนี้ถ้าจะมองว่าการจำนำสินค้าโดยรัฐนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการที่รัฐบาลมาซื้อสินค้าเหล่านั้นนั่นเอง
ประเด็นสำคัญของวิธีการนี้คือ รัฐบาลได้ผันตัวมาเป็นหนึ่งในผู้เล่นในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของสินค้านั้นๆ และเนื่องจากโดยปกติรัฐบาลจะมีเงินทุนในการจัดซื้อค่อนข้างสูง (ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ออกนโยบายอีกละครับว่าจะใช้งบประมาณมากเท่าใด) จึงไม่ใช่เลือกแปลกที่จะทำให้การซื้อดังกล่าวส่งผลถึงความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของสินค้านั้นในตลาด
เราลองมาพิจารณา Supply Chain แบบย่อด้านล่างนี้ครับ






คำว่าพ่อค้าคนกลางนั้นผมหมายความรวมไปถึงโรงสี หรือผู้รับซื้อจากเกษตรกรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้ากำไร
รัฐบาลนั้นจะแทรกอยู่ตรงกลางระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค โดยจะพยายามควบคุมราคาสินค้าผ่านการแทรกแซงกลไกตลาดด้วยการทำตัวเป็นพ่อค้าคนกลางที่มีอำนาจในการซื้อขายสูงนั่นเอง ถ้าเราพิจารณารอยต่อแรก





รัฐบาลอยู่ในสถานะเดียวกับพ่อค้าคนกลาง และคอยทำหน้าที่ซื้อสินค้าในปริมาณมาก และราคาที่สูงกว่า ด้วยความหวังที่ว่าการกระทำดังกล่าวจะผลักดันให้อุปสงค์ของพ่อค้าคนกลางต่อเกษตรกรเลื่อนไปทางขวา หรือ ยอมซื้อสินค้าในราคาแพงขึ้นนั่นเอง (เลื่อนจากจุด A ไป จุด B)






พื้นที่โซนสีต่าง จากเดิมมูลค่าการซื้อขายของพ่อค้าคนกลางคือพื้นที่สีเหลือง + สีฟ้า เปลี่ยนเป็น สีฟ้า + สีส้ม จะมากขึ้นหรือน้อยลงนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยราคาและความสามารถในการซื้อของกลุ่มคนเหล่านั้น ซึ่งถึงแม้จะสูงขึ้นหรือไม่ก็ตามแต่ต้นทุนของพ่อค้าคนกลางก่อนที่จะนำสินค้านี้เข้าขายในตลาดได้สูงขึ้นแล้ว
สิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือพื้นที่โซนสีเขียวและสีเหลือง ซึ่งคือมูลค่าที่รัฐบาลจะต้องทำการชำระ อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าเมื่อการรบกวนระบบเกิดขึ้นจะทำให้เกษตรกรเพิ่มกำลังการผลิตจาก Q0 เป็น Q2 ขณะที่ผู้รับซื้อลดกำลังซื้อจาก Q0 เป็น Q1 นั่นก็หมายความว่ารัฐบาลจะต้องคอยรับซื้อเป็นปริมาณ Q2-Q1

ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีรัฐบาลจะต้องเก็บข้าวจำนวนมากหากมีการผลักดันราคาขึ้นสูง (P0 ไปเป็น P2)

คราวนี้เรามาพิจารณารอยต่อชิ้นต่อไปคือความสัมพันธ์ระหว่างพ่อค้าคนกลางกับผู้บริโภคกันครับ






เมื่อรัฐบาลแฝงตัวอยู่ในกลุ่มพ่อค้าคนกลางดังนั้นรัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องบริหารการขายสินค้าออกอย่างระมัดระวัง เพื่อมิให้ส่งผลต่อกลไกตลาดด้านนี้ เพราะถ้าหากรัฐบาลเทสินค้าที่มีออกมาสู่ท้องตลาดก็จะทำให้ราคาสินค้าตกลงอย่างแน่นอน
ดังนั้นรัฐบาลและพ่อค้าคนกลางจำเป็นต้องจำหน่ายสินค้าในราคาสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนของสินค้านั้นสูงขึ้น
เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลจะมีความพยายามในการใช้การค้าลักษณะรัฐต่อรัฐ ทั้งนี้ก็เป็นความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการรบกวนกลไกราคานั่นเอง

สรุป 
ภายใต้สมมติฐานว่า ไม่มีการทำการใดๆ ที่เป็นการทุจริต แอบอ้าง สวมสิทธิ หรือฉ้อโกงในรูปแบบอื่นๆ โครงการนี้จะส่งผลดังนี้ครับ
1. เกษตรกร = ผลดี: เนื่องจากราคาสินค้าดีขึ้น ผลประโยชน์ส่วนเพิ่มคือพื้นที่สีเขียว + สีส้ม
2. พ่อค้าคนกลาง = ผลเสีย: เนื่องจาก
     2.1 มีผู้เล่นที่แข็งแรงเข้าสู่ตลาด และยังรับซื้อสินค้าในราคาที่สูงกว่า
     2.2 ต้นทุนสินค้าแพงขึ้น ทำให้ต้องขายสินค้าแพงขึ้นอาจส่งผลต่อการแข่งขันกับผู้เล่นอื่นๆ
3. ผู้เสียภาษี = อาจจะเป็นผลดี หรือผลเสีย: ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารสินค้าของรัฐบาล หากบริหารได้ดีจะส่งผลดีเนื่องจากใช้งบประมาณน้อยลงไปมาก และสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ แต่หากการจัดการไม่ดีก็จะทำให้สูญเสียงบประมาณมาก แต่มีแนวโน้มที่จะส่งผลดีมากกว่า
4. ผู้บริโภค = ผลเสีย: มีความเป็นไปได้ที่ราคาสินค้าจะสูงขึ้น เว้นแต่จะมีการเทขายจากภาครัฐ (แต่การเทขายจะส่งผลเสียอย่างมากต่อพ่อค้าคนกลาง และตัวรัฐบาลเอง)
ในบทความต่อไปเราจะมาวิพากษ์ถึงหลักการ และผลของการใช้นโยบายประกันราคาสินค้าเกษตรกัน และจะนำผลดีผลเสียมาเปรียบเทียบกันอีกครั้งในตอนสุดท้ายครับ

ที่มา:
1. http://www.oknation.net/blog/econhermit/2012/10/05/entry-1

Thursday, September 26, 2013

สารกรองคาร์บอน (Activated Carbon)


สารกรองคาร์บอน หรือ Activated Carbon เป็นสารกรองน้ำประเภทหนื่งซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวดูดซับและคัดกรองจึงทำให้ สารกรองคาร์บอน  มีความสามารถในการกรองกลิ่น สี และคลอรีนได้
ในกระบวนการผลิต สารกรอง คาร์บอนนั้น กะลามะพร้าวซึ่งเป็นวัตถุดิบผ่านกระบวนการผลิตภายใต้ความดันและอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อให้ได้เม็ด คาร์บอน ที่มีรูพรุน
ในการกรองน้ำ สารกรองคาร์บอนจะเรียงตัวกันในภาชนะกรองน้ำเพื่อให้น้ำสามารถไหลผ่านตามรูพรุนขอเม็ดคาร์บอนและช่องว่างระหว่างเม็ดคาร์บอนซ่งมีขนาดเล็กใน ระดับโมเลกุลได้ ดังนั้นกระบวนการกรองน้ำของสารกรองคาร์บอนจึงแบ่งได้เป็นสองวิธีหลักคือ การกรองเชิงฟิสิกส์ และ การกรองเชิงเคมี ในการกรองเชิงฟิสิกส์นั้นสารกรองคาร์บอนจะทำหน้าที่เป็นเสมือนกับเยื่อเลือกผ่านกล่าวคือ โมเลกุลของสสารต่างๆที่อยู่ในน้ำที่มีขนาดใหญ่กว่าช่องว่างระหว่างเม็ดหรือ รูพรุนของเม็ดคาร์บอนจะไม่สามารถหลุดออกมาได้ ในขณะที่ในการกรองเชิงเคมีนั้น ในระหว่างที่โมเลกุลน้ำจะไหลผ่านรูพรุนของเม็ดคาร์บอน สสารต่างๆที่อยู่ในน้ำซึ่งมีโมเลกุลเล็กกว่าสสารข้างต้นจะถูกจับไว้ที่ผนังด้านในของเม็ดคาร์บอนนั้นๆ น้ำที่ได้จากการกรองโดยใช้สารกรองคาร์บอนจึงสะอาดปราศจากสสารเหล่านี้
เมื่อ สารกรองคาร์บอน ทำการกรองน้ำเพื่อขจัดสสารต่างๆ แล้วนั้นสสารต่างก็ถูกสะสมให้เม็ดและช่องว่างระหว่างคาร์บอน เมือสสารเหล่านั้นมีจำนวนมากพอ สารกรองก็จะไม่สามารถกรองน้ำได้อีกต่อไปเนื่องจากสารกรองเกิดการอิ่มตัวหรืออีกนัยหนึ่งคือสารกรองไม่สามารถดูดซึมสสารต่างๆ ได้อีก อายุการทำงานของสารกรองจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำก่อนการกรองว่ามีสสารเจือปนมากน้อยเพียงใด...
ที่มา:

ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม (ตอนที่ 1)

ผมไปเจอบทควาที่ดีมากๆ เขียนโดย คุณสุทัศน์ ยกส้าน ก็เลยอยากจะมาแชร์กัน เรื่องที่ว่านี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งคุณสุทัศน์เขียนไว้ได้อย่างน่าสนใจมาก ดังนี้ครับ


Schrödinger's cat เราไม่รู้ว่าแมวจะตายหรือไม่ จนกว่าจะเปิดกล่อง

วันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ.1900 เป็นวันที่ทฤษฎีควอนตัมถือกำเนิด เมื่อ Max Planck ประสบความสำเร็จในการอธิบายว่า แสงที่วัตถุร้อนเปล่งออกมานั้น มีความเข้มและความยาวคลื่นที่ขึ้นกับอุณหภูมิของวัตถุอย่างไร โดยได้ตั้งสมมติฐานว่า วัตถุปลดปล่อยแสงออกมาในลักษณะเป็นก้อนพลังงานซึ่ง Planck เรียก quantum คำอธิบายของ Planck เช่นนี้ ไม่มีนักฟิสิกส์คนใดสนใจ แม้แต่ Planck เองก็ไม่มั่นใจในคำอธิบายของตนเองนัก
       
       ต่อมาในปี 1905 Albert Einstein ได้นำแนวคิดเรื่องควอนตัมของ Planck ไปอธิบายปรากฏการณ์ photoelectric ซึ่งอุบัติเวลาโลหะบางชนิดได้รับแสงแล้วมีกระแสไฟฟ้าไหล โดย Einstein ได้อธิบายว่าแสงประกอบด้วยอนุภาค (ในเวลาต่อมาอนุภาคแสงนี้มีชื่อเรียกว่า photon) แต่ก็ไม่มีใครเชื่ออีก เพราะนักวิทยาศาสตร์ทั้งโลก ณ เวลานั้นยอมรับและเชื่อในหลักฐานว่าแสงมีรูปลักษณ์และสมบัติของคลื่นมานานนับศตวรรษแล้ว
       
        จนกระทั่งถึงปี 1913 องค์ความรู้เรื่องควอนตัมก็เริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเมื่อนักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์กชื่อ Niels Bohr นำทฤษฎีควอนตัมไปอธิบายที่มาของเส้นสเปกตรัมแสงที่อะตอมไฮโดรเจนเปล่งออกมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ทั้งๆ ที่ได้ตั้งสมมติฐานเหลือเชื่อหลายประเด็น อีก 12 ปีต่อมา ศิษย์ของ Bohr ชื่อ Werner Heisenberg ชาวเยอรมัน กับ Erwin Schroedinger ชาวออสเตรียก็ได้นำแนวคิดเรื่องควอนตัมนี้ไปศึกษาอะตอมที่มีโครงสร้างซับซ้อนกว่าไฮโดรเจนขึ้นไปอีก วิชากลศาสตร์ควอนตัมจึงถือกำเนิดอย่างเป็นทางการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
       
        ข้อสังเกตหนึ่งที่ได้จากการศึกษาเทคนิคคณิตศาสตร์ของนักฟิสิกส์ทั้งสองคือ Heisenberg พิจารณาอิเล็กตรอนในอะตอมว่าเป็นอนุภาค แต่ Schroedinger พิจารณาอิเล็กตรอนเป็นคลื่น แม้มุมมองจะแตกต่างกัน แต่ผลคำนวณให้คำตอบสุดท้ายที่ตรงกัน ทั้งๆ ที่ Heisenberg ใช้เทคนิคเมทริกซ์ (matrix) และ Schroedinger ใช้สมการอนุพันธ์ย่อย (partial differential equation) หลังจากนั้น Max Born ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของ Heisenberg ก็ได้แสดงให้เห็นว่า ฟังก์ชันคลื่นในสมการ Schroedinger มีความสัมพันธ์โดยตรงกับโอกาสการพบอนุภาคอิเล็กตรอน
       
        ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น Clinton Davisson ชาวอเมริกัน และ George Thomson ชาวอังกฤษก็ได้สาธิตการทดลองที่แสดงให้เห็นว่า อิเล็กตรอนที่ทุกคนคิดว่าเป็นอนุภาค สามารถแสดงสมบัติในบางสถานการณ์เสมือนว่าเป็นคลื่นได้
       
        เมื่อมีการทดลองที่ยืนยันว่า อิเล็กตรอนแสดงพฤติกรรมเป็นอนุภาคก็ได้หรือคลื่นก็ได้ ส่วนแสงก็แสดงพฤติกรรมเป็นคลื่นก็ได้หรืออนุภาคก็ได้ ดังนั้น Bohr จึงนำเสนอหลักการเติมเต็ม (complementarity principle) ซึ่งมีใจความว่า ระบบควอนตัมจำเป็นต้องอาศัยคำบรรยายที่แสดงสมบัติทั้งสองด้าน คือ สมบัติอนุภาคและสมบัติคลื่น คำอธิบายเกี่ยวกับระบบจึงจะครบสมบูรณ์ นั่นคือ การกล่าวถึงเฉพาะสมบัติคลื่นหรือสมบัติอนุภาคแต่เพียงด้านเดียว ไม่เพียงพอ และระบบจะแสดงสมบัติด้านใด ก็ขึ้นกับว่า นักทดลองจะทดสอบสมบัติด้านใด เช่น ถ้านักทดลองจัดรูปแบบการทดลองให้ระบบแสดงสมบัติคลื่น ก็จะได้คลื่น และถ้าจัดการทดลองให้ระบบแสดงสมบัติด้านอนุภาค ก็จะได้อนุภาค แต่จะอย่างไรก็ตามระบบจะไม่แสดงสมบัติทั้งคลื่นและอนุภาคพร้อมกัน
       
        หลักปรัชญาของ Bohr นี้ได้รับการยืนยันว่าถูกต้องและมีตรรกะ เมื่อใช้หลักความไม่แน่นอน (uncertainty principle) ของ Heisenberg ซึ่งแถลงว่า เราไม่สามารถวัดตำแหน่งและโมเมนตัมของอนุภาคใดๆ ได้ อย่างแม่นยำ ในเวลาเดียวกัน ข้อจำกัดนี้มิได้เกิดจากการไร้ความสามารถของมนุษย์ แต่การที่เป็นเช่นนี้เพราะก่อนที่นักทดลองจะลงมือวัดค่าโมเมนตัม หรือตำแหน่งของอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนมิได้มีโมเมนตัม และตำแหน่งที่มีค่าแน่นอน แต่มันมีโมเมนตัมได้นานาค่าและสามารถอยู่ได้ทุกหนแห่งรอบอะตอมในเวลาเดียวกัน
       
        หลักการเติมเต็มที่ Bohr นำเสนอในปี 1927 และหลักความไม่แน่นอนที่ Heisenberg นำเสนอในปีเดียวกันได้ทำให้ Einstein และ Bohr มีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องธรรมชาติของระบบควอนตัม จึงออกมาโต้แย้ง และคัดค้านเหตุผลของกันและกัน อย่างไม่มีใครยอมใครเป็นเวลานาน โดย Einstein ได้พยายามแสดงให้เห็นว่า หลักความไม่แน่นอนไม่เป็นจริงเสมอไป แต่ Bohr ก็ได้คิดการทดลองในจินตนาการที่หักล้างข้อโต้แย้งของ Einstein ทุกครั้งไป จนในที่สุด Einstein ก็ยอมรับว่า ในระบบควอนตัม หลักความไม่แน่นอนของ Heisenberg เป็นจริง อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ Einstein ก็ยังติดใจและยังไม่ยอมรับทฤษฎีควอนตัมว่าเป็นทฤษฎีที่สมบูรณ์ (คือไม่มีใครสามารถดัดแปลงให้ดีขึ้นได้อีก) เพราะ Einstein คิดว่า เทคนิคคณิตศาสตร์ที่ใช้ในทฤษฎีควอนตัมส่อแสดงความน่าจะเกิดขึ้นของเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งแสดงว่ากลศาสตร์ควอนตัมยังให้ความรู้ที่ไม่สมบูรณ์
       
        ในปี 1935 Einstein กับเพื่อนร่วมงานชื่อ Boris Podolsky และ Nathan Rosen แห่งมหาวิทยาลัย Princeton ได้นำเสนอการทดลองในจินตนาการเรื่องหนึ่งที่แสดงว่า ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมไม่สามารถอธิบายได้ เพราะคำอธิบายของกลศาสตร์ควอนตัมเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นไปไม่ได้เพราะขัดแย้งกับสามัญสำนึกอย่างสิ้นเชิง ปฏิทรรศน์ (paradox) ที่นักฟิสิกส์ทั้งสามเสนอนี้มีเนื้อหาว่า สมมติมีอนุภาค 2 อนุภาคที่มีอันตรกริยาต่อกัน และในเวลาต่อมาได้ถูกแยกจากกัน ในมุมมองของกลศาสตร์ควอนตัมนั้น อนุภาคทั้งสองถือว่าเป็นองค์ประกอบของระบบเดียวกัน ดังนั้นถ้าวัดโมเมนตัมของอนุภาคตัวหนึ่ง ข้อมูลที่ได้จะทำให้รู้โมเมนตัมของอนุภาคอีกตัวหนึ่งทันที ในทำนองเดียวกัน ถ้าวัดตำแหน่งของอนุภาคตัวหนึ่ง ข้อมูลที่ได้จะทำให้รู้ตำแหน่งของอนุภาคอีกตัวหนึ่งทันที (เปรียบเสมือนกับ การมีรองเท้าสองข้าง แล้วนำข้างหนึ่งใส่กล่องส่งไปเชียงใหม่ ส่วนอีกข้างหนึ่งใส่กล่องส่งไปอุบลราชธานี ถ้าคนที่เชียงใหม่ได้รับรองเท้าข้างขวา เขาก็จะรู้ทันทีว่า คนที่อุบลราชธานีได้รับรองเท้าข้างซ้าย) Einstein กับเพื่อนทั้งสองมิได้ปฏิเสธว่า การรู้สมบัติของอนุภาคหนึ่ง จะทำให้รู้สมบัติของอนุภาคอีกตัวหนึ่ง แต่ประเด็นที่ทั้งสามสงสัย คือ การรู้สมบัติทั้งสอง (ตำแหน่งและโมเมนตัม) ของอนุภาคแสดงว่า ตำแหน่ง และโมเมนตัมของอนุภาคมีค่าที่แน่นอน แต่หลักความไม่แน่นอนของ Heisenberg แถลงว่าเรารู้ข้อมูลแน่นอนได้เพียงหนึ่งเดียว ไม่ใช่สองข้อมูล ดังนั้นกลศาสตร์ควอนตัมจึงไม่ใช่ทฤษฎีที่สมบูรณ์ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้เกี่ยวกับข้อมูลหนึ่งจะมีผลทำให้รู้เกี่ยวกับข้อมูลที่สองในทันที เป็นเรื่องเหลือเชื่อ เพราะสัญญาณในการติดต่อระหว่างอนุภาคทั้งสองจะเดินทางด้วยความเร็วสูงยิ่งกว่าแสง ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ


Huge Everett พยายามอธิบายเรื่อง Parallel Universe
       แต่ Bohr ก็เสนอคำอธิบายว่า ในวิชาควอนตัมนั้น ก่อนจะทำการวัดใดๆ อนุภาคยังไม่มีโมเมนตัมค่าหนึ่งค่าใด หรืออยู่ที่ตำแหน่งใดโดยเฉพาะ ตำแหน่งหรือโมเมนตัมของอนุภาคเกิดขึ้นหลังการวัด หรืออีกนัยหนึ่ง ความจริงในธรรมชาติเกิดขึ้นหลังการวัด ก่อนการวัด ธรรมชาติไม่มีค่าใดที่แน่นอน (หากเปรียบเทียบกรณีรองเท้า Einstein เชื่อว่า รองเท้าข้างซ้ายและขวามีอยู่ในกล่องตลอดเวลา แต่ Bohr อธิบายว่าในกล่องที่ส่งไปเชียงใหม่กับอุบลราชธานีนั้น ไม่มีใครบอกได้ว่า รองเท้าเป็นข้างซ้ายหรือข้างขวา คือทุกอย่างจะเบลอๆ แต่เมื่อคนที่เชียงใหม่เปิดกล่องออกดู รองเท้าจะปรากฏทันทีว่าเป็นซ้ายหรือขวา และในเวลาเดียวกันนั้น คนที่อุบลราชธานีก็จะพบว่า รองเท้าที่เห็นเป็นข้างขวาหรือข้างซ้ายในทันที การส่งข้อมูลถึงกันโดยต้นกำเนิดที่อยู่ห่างกันในทันทีนี้เป็นสมบัติลึกลับของระบบควอนตัม (ซึ่งสมบัตินี้ปัจจุบันนี้มีชื่อเรียกว่า ความพัวพัน (entanglement))
   
        คำอธิบายของ Bohr เป็นที่ยอมรับในแวดวงนักฟิสิกส์ส่วนมาก และนักฟิสิกส์หลายคนไม่คิดว่าจะมีการทดลองใดๆ ที่สามารถแสดงสมบัติความพัวพันนี้ เพราะความพัวพันมีในธรรมชาติ ดังนั้น กลศาสตร์ควอนตัมก็สมบูรณ์ และไม่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบใหม่อื่นใดเข้ามาเสริม เพื่อทำให้การทดลองให้ผลตรงกับความจริง ดังที่ John Bell แห่งห้องปฏิบัติการที่ CERN ในสวิสเซอร์แลนด์ได้เสนอไว้ในปี 1964
   
        ครั้นเมื่อนักทดลองได้ทำตามที่ Bell เสนอ ตลอดเวลา 20 ปีต่อมา ก็ไม่พบว่า ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมจำต้องมีตัวแปรซ่อนเร้น (hidden Variable) อื่นใดอีก นั่นคือ กลศาสตร์ควอนตัมในรูปแบบที่เป็นอยู่สมบูรณ์แล้ว
   
        แต่มุมมองของ Bohr ก็ยังเป็นเรื่องที่คาใจนักฟิสิกส์กับนักปรัชญาอีกหลายคนตลอดเวลาที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงวันนี้ว่า จากความเป็นไปได้ที่มีมากมายนั้น แต่เวลาทำการทดลองวัดสมบัติของระบบควอนตัม ในแต่ละครั้งจะวัดได้ค่าเดียว ส่วนค่าอื่นๆ ที่เป็นไปได้นั้น อันตรธานไปไหน หรือยุบรวมกันด้วยกลไกใด
   
        ในความพยายามจะอธิบายปริศนานี้ Huge Everett ที่ 3 แห่งมหาวิทยาลัย Princeton ในสหรัฐอเมริกาได้เสนอความเห็นว่า ถ้าระบบควอนตัมมีความเป็นไปได้หลายรูปแบบ (จำนวนมากถึงอนันต์) ความจริงก็มิได้หลายรูปแบบ (จำนวนมากถึงอนันต์) เช่นกัน ดังนั้นเวลานักฟิสิกส์ทดลองวัดได้ค่าๆ หนึ่ง และค่าอื่นจำนวนนับอนันต์ จะปรากฏอยู่ในพหุภพ (multiverse) ที่อยู่ซ้อนกัน ตัวนักฟิสิกส์เองก็แยกตัวเป็นนักฟิสิกส์จำนวนมากนับอนันต์ที่ต่างก็ไม่ตระหนักในตัวของกันและกัน โดยมีค่าที่วัดได้แตกต่างกัน
   
        มุมมองของ Everett ที่เป็น “Many Worlds” หรือ “Parallel Universe” นี้ ได้พยายามเสริมความไม่สมบูรณ์ของคำอธิบายของ Bohr แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะนักฟิสิก์ส่วนมากเชื่อว่ามัน เป็นการอธิบายแนว metaphysics ที่เหนือจริงเกินไป
   
        ในเวลาต่อมา แนวความพยายามที่จะอธิบายประเด็นนี้ได้นำนักฟิสิกส์สู่ความรู้เรื่อง ความไม่อาพันธ์เชิงควอนตัม (quantum decoherence)
   
        สำหรับ Schroedinger เอง ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ให้กำเนิดวิชากลศาสตร์ควอนตัมก็ได้เสนอมุมมองเกี่ยวกับธรรมชาติของระบบควอนตัมที่ว่า ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน (ว่ารองเท้าในกล่องเป็นข้างขวาหรือข้างซ้าย) โดยใช้เทคนิคในการคำนวณซึ่งครอบคลุมทั้งสองกรณีซึ่งเรียกว่า หลักการซ้อนทับ (superposition principle)
   
        แต่ Schroedinger กลับใช้แมวแทนรองเท้า ซึ่งทำให้คนที่ไร้ประสบการณ์ในวิชาควอนตัม ตกอกตกใจมาก ที่พบว่า แมวของ Schroedinger เป็นแมวซอมบี้ คือเป็นทั้งแมวตายและแมวมีชีวิตในขณะเดียวกัน โดยในปี 1935 Schroedinger ได้สมมติว่า มีกล่องที่ปิดสนิทกล่องหนึ่ง ซึ่งภายในมีแมวตัวหนึ่ง หลอดยาพิษไซยาไนด์หลอดหนึ่ง ค้อน สารกัมมันตรังสี และเครื่องวัดกัมมันตรังสีซึ่งจะทำงานทันทีที่สารกัมมันตรังสีสลายตัว โดยจะบังคับค้อนให้ทุบหลอดแก้วจนแตก ซึ่งจะปล่อยก๊าซพิษออกมาฆ่าแมว
   
        หลังจากที่เวลาผ่านไปพอสมควร นักฟิสิกส์ซึ่งรู้ว่าโอกาสที่สารกัมมันตรังสีจะสลายตัวมีค่า 50-50 นั่นหมายความว่าโอกาสที่แมวจะตาย และจะมีชีวิตมีค่า 50-50 เช่นกัน แมวจึงมีสภาพตายครึ่ง-เป็นครึ่ง (ซอมบี้) โดยไม่มีใครรู้ว่า มันตายหรือเป็นอย่างแน่ชัด จนกระทั่งเปิดฝากล่องออกดูแล้ว ก็จะเห็นว่า แมวมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตอย่างชัดเจน
   
        เนื้อหาของการทดลองนี้ที่ทำให้ผู้คนอึดอัดคือ ความจริง (เป็นหรือตาย) ถูกกำหนดโดยการสังเกต แต่ถ้าไม่มีการสังเกต ความจริงจะเป็นในลักษณะรวมๆ ว่า แมวตัวเดียวกันอยู่ในสภาพเป็นและตายพร้อมกัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในชีวิตแมวจริงๆ
   
        แต่ในระบบอะตอม ที่อะตอมสามารถมีได้หลายสถานะ (สถานะพื้นและสถานะกระตุ้นหลายระดับ) ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นหลักการซ้อนทับของกลศาสตร์ควอนตัมจึงกำหนดว่าสถานะจริงของอะตอมประกอบด้วยผลรวมของสถานะต่างๆ เหล่านั้นทุกสถานะ

ที่มา: http://www.manager.co.th/science/viewnews.aspx?NewsID=9560000091762

วิกฤติยูโรโซน “แยกกันเราอยู่ รวมกันเราตาย” กับการทำลายกลไกอัตราแลกเปลี่ยน (ตอนที่ 1)



ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ท่านผู้อ่านคงได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับหลายประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปมาไม่มากก็น้อย สืบเนื่องจากปัญหาดังกล่าวทำให้นักการเงินและนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกได้ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาว นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านได้แนะนำนโยบายการเงินที่เชื่อว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตินี้ไปได้อย่างกว้างขวาง

“แยกกันเราอยู่ รวมกันเราตาย???” ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมผมพาดหัวแปลกๆ เหมือนเป็นนัยว่าการแยกกันอยู่จะส่งผลดีต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของเหล่าประเทศสมาชิก

หากเราจะพิจารณาถึงลักษณะการรวมตัว และลักษณะการก่อตัวของปัญหาเราจะพบว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดขึ้นวนเวียนซ้ำไปซ้ำมาอีกหลายรอบถึงแม้ว่าจะนโยบายการเงิน หรือความช่วยเหลือเฉพาะหน้าของประเทศสมาชิก โดยจะขอยกประเด็นเรื่องการทำลายกลไกของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญของวลีที่ว่า “แยกกันเราอยู่ รวมกันเราตาย”

สหภาพยุโรปประกอบไปด้วย 27 ประเทศสมาชิก โดยประเทศเหล่านี้มีความพยายามที่จะรวมศูนย์ระบบเศรษฐกิจให้เป็นหนึ่งเดียว ด้วยความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องความแตกต่างของกฎหมายทางธุรกิจ มีการอนุญาตให้มีการถ่ายเทของปัจจัยทางการผลิตได้ค่อนข้างเสรี และที่สำคัญประเทศเหล่านี้ใช้สกุลเงินกลางสกุลเดียวที่เรียกว่าเงินยูโร (Euro-€) จะมีก็บางประเทศเท่านั้นที่ไม่ได้ใช้เงินสกุลนี้ เช่น สหราชอาณาจักร เป็นต้น ในบทความต่อไปนี้เราจะพูดถึงเฉพาะส่วนที่ใช้เงินยูโรร่วมกันเท่านั้นนะครับ

การที่ประเทศสมาชิกที่มีความแตกต่างทางความสามารถในทางอุตสาหกรรม เงินทุน เทคโนโลยี รวมไปถึงองค์ประกอบอื่นๆ มากมายทำให้เงินยูโรนั้นสร้างความได้เปรียบและเสียเปรียบต่อประเทศสมาชิกอย่างมากมาย

ในสภาวะปกติประเทศที่มีการส่งออกมากๆ และนำเข้าน้อยๆ จะทำให้เงินสกุลของตนเองเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นและส่งผลให้ค่าเงินของประเทศนั้นแข็งค่าขึ้น ในทางกลับกันหากประเทศดังกล่าวมีการส่งออกน้อยมาก และมีการนำเข้าสินค้าก็จะทำให้เงินสกุลของประเทศนั้นอ่อนค่าลง (ในสภาวะที่เราสมมติว่านโยบายการเงินอื่นนั้นเหมือนๆ กัน) โดยธรรมชาติอัตราแลกเปลี่ยนทางการเงินนี้จะเป็นตัวที่คอยรักษาสมดุลให้กับประเทศที่เสียดุลการค้า ตัวอย่างเช่น สมมติประเทศ ก เสียดุลการค้าเป็นอย่างมาก ประเทศนี้ค่าเงินก็จะอ่อนตัวลงทำให้การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเป็นไปได้ยาก เพราะราคาสินค้าต่างประเทศจะแพงขึ้นเมื่อเทียบกับการผลิตภายใน ดังนี้ทำให้ความต้องการของการนำเข้าลดลง ในทางกลับกันการส่งออกจะเป็นไปได้ง่ายขึ้นเพราะสินค้าที่ส่งราคาจะถูกลงสำหรับประเทศคู่ค้า ดังนั้นจึงไม่เป็นที่แปลกใจที่ประเทศมหาอำนาจบางประเทศมีความพยายามที่จะแทรกแซงให้ค่าเงินของประเทศตัวเองนั้นอ่อนกว่าที่ควรจะเป็น

คราวนี้เรากลับมาที่สหภาพยุโรปกันอีกครั้ง 

เนื่องจากเหล่าประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเกิดจากการรวมตัวของประเทศที่มีมาตรฐานทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันอย่างมาก กลุ่มประเทศที่มีการส่งออกมากกว่านำเข้า (อย่างเช่นประเทศเยอรมนี) จะได้รับประโยชน์ของเงินสกุลยูโร เนื่องจากจะมีประเทศที่มีการนำเข้ามากกว่าส่งออกมาถ่วงดุลทำให้ค่าเงินไม่แข็งค่าขึ้นแต่อย่างใด การที่มีประเทศอื่นคอยถ่วงดุลนี้จะทำให้ราคาที่ผลิตออกไปราคาไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้น (ซึ่งโดยปกติถ้าค่าเงินแข็งขึ้น จะทำให้สินค้าที่ส่งออกไปมีราคาสูงขึ้นสำหรับประเทศคู่ค้า)

สภาวะดังกล่าวทำให้กลไกการปรับตัวและถ่วงดุลของค่าเงินนั้นไม่ทำงานนั่นก็หมายความว่าประเทศที่เศรษฐกิจแข็งแกร่ง และมีการส่งออกสูง จะได้ประโยชน์จากการรวมตัวนี้ไปเรื่อยๆ และประเทศที่อ่อนแอที่สุดก็ได้ไม่ได้รับประโยชน์จากกลไกอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งโดยปกติจะคอยช่วยเหลือหรือปรับปรุงความต้องการซื้อสินค้าต่างประเทศ แต่ความต้องการขายสินค้าของผู้ผลิตภายใน

เป็นที่แน่ชัดว่าไม่มีประเทศใดในโลกที่จะสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยการขาดดุลทางการค้าตลอดไป แต่ประเทศที่อ่อนแอในกลุ่มสภาพยุโรปก็จะไม่ได้รับประโยชน์ของการอ่อนตัวของค่าเงิน ในทางกลับกันประเทศเหล่านี้ยังต้องซึมซับการแข็งค่าของค่าเงินจากผลงานทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีความแข็งแกร่งอย่าง ประเทศเยอรมนี และฝรั่งเศส นั่นหมายความว่าการรวมตัวกันนี้จะเกิดสภาวะที่จะทำให้ประเทศที่มีความอ่อนแอทางเศรษฐกิจที่สุดต้องประสบปัญหาทางการเงิน ในขณะที่ประเทศที่แข็งแรงจะได้รับประโยชน์เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด

สมมติว่ามีการกำจัดประเทศที่อ่อนแอจนไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ออกไปจากกลุ่ม ในไม่ช้าประเทศที่อ่อนแออันดับถัดมาก็จะเกิดสภาวะเฉกเช่นเดียวกันนี้ซ้ำๆ ด้วยเหตุผลที่ยกมาข้างต้น นี่ยังไม่ได้พิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น ความสามารถของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ ความสามารถทางธุรกิจของประชากร ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจภายใน ฯลฯ ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่า Domino Effects ก็ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ไม่ไกลเกินเอื้อม และไม่นานเกินรอที่จะได้พบเห็น

การทำลายกลไกของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเพียงหนึ่งในประเด็นที่น่าจับตามองว่าสหภาพยุโรปจะทำการแก้ไขหรือรับมืออย่างไร ในบทความต่อไปเราจะมาพูดถึงความเป็นไปได้ที่ประเทศเหล่านี้จะอยู่ร่วมกันต่อไป รวมถึงมีอะไรบ้างที่พวกเขาจะทำเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขในระยะยาว

ที่มา:
1. http://www.oknation.net/blog/econhermit

เนบิวลา (Nebula)




เนบิวลา(Nebula) คือกลุ่มของก๊าซและฝุ่นผงที่รวมตัวกันอยู่ในอวกาศ เนบิวล่ามาจากภาษาลาตินแปลว่า "เมฆ" เพราะเมื่อเราใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดู จะเห็นเป็นฝ้าขาวคล้ายกลุ่มเมฆ เนบิวล่าเป็นวัตถุหนึ่งในเอกภพที่มีความสำคัญมากๆ เพราะดาวฤกษ์หรือดาวเคราะห์ล้วนเกิดขึ้น มาจากเนบิวล่าทั้งสิ้น เนบิวล่าที่เราเห็นนั้นความจริงมีขนาดใหญ่โตมโหราฬมาก บ้างก็มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 ปีแสง บ้างก็ใหญ่กว่าระบบสุริยะของเราถึง 10 เท่า เช่นเนบิวล่าสว่าง M42 ในกลุ่มดาวนายพราน ซึ่งกำลังก่อตัวให้เกิดระบบสุริยะใหม่ สามารถก่อกำเนิดดาวฤกษ์ใหม่ได้นับพันดวง และเนบิวล่าส่วนใหญ่จะไกลจากเรามากนับ 10 นับ 100 ปีแสง แต่ไม่ไกลเกินระบบทางช้างเผือกของเรา เพราะเนบิวล่าเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของกาแลกซี่ทางช้างเผือก
     กำเนิดของเนบิวล่านั้นนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีด้วยกันหลายสาเหตุ แต่ในเบื้องต้น คาดว่าจะเกิดขึ้นมาพร้อมกับกำเนิดของเอกภพที่จะก่อกำเนิดดาวฤกษ์รุ่นแรก และ เกิดจากการแตกดับของดาวฤกษ์รุ่นแรก ที่ทิ้งซากไว้เพื่อรอการกำเนิดเป็นดาวฤกษ์ ขั้นที่สองอีกครั้ง

     เราแบ่งเนบิวล่า ออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่คือ
1. Emission nebulae หรือเนบิวล่ามีแสงในตัวเอง
2. Reflective nebulae หรือเนบิวล่าสะท้อนแสง
3. Planetary nebular หรือเนบิวล่าดาวเคราะห์
4. Dark nebulae หรือ เนบิวล่ามืด




     เนบิวล่าสว่าง 
เนบิวลาสว่างนั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
Emission nebulae หรือ เนบิวล่ามีแสงในตัวเอง
Reflective nabulae หรือ เนบิวล่าสะท้อนแสง เนบิวล่าทั้งสองแบบนั้นค่อนข้างจะแยกออกจากกันลำบาก เพราะมีลักษณะคล้ายกันมาก และบางครั้งอาจอยู่ปะปนกัน เหตุที่เรียก Emission nebulae ว่า เนบิวล่าสว่าง เพราะเนบิวล่าแบบนี้จะเรืองแสงขึ้นเอง เมื่ออะตอมของมวลสารที่อยู่ในเนบิวล่า ถูกกระตุ้นด้วยพลังงานจากดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ๆ ก๊าซส่วนใหญ่ในเนบิวล่าจะเป็นอะตอมไฮโดรเจน ซึ่งจะปล่อยแสงสีแดง กับอะตอมของอ๊อกซิเจนซึ่งให้แสงสีเขียว และอะตอมของไฮโดรเจนมักจะรวมตัวกับอะตอมของอ๊อกซิเจน แล้วจะปล่อยสีผสมระหว่างแดงกับเขียวคือสีเหลืองออกมา
ส่วนReflective nabulae หรือ เนบิวล่าสะท้อนแสง นั้นจะเป็นองค์ประกอบของฝุ่นผงเป็นส่วนใหญ่คล้ายควันบุหรี่ ซึ่งจะให้แสงสีน้ำเงินออกมา 




     เนบิวล่าดาวเคราะห์
Planetary nebulae หรือ เนบิวล่าดาวเคราะห์
เป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึงมรณะกรรมของดาวฤกษ์ที่มีขนาดเท่ากับดวงอาทิตย์ของเรา เมื่อถึงช่วงสุดท้ายอายุของ ดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์จะหดตัวอย่างรวดเร็วเพราะแรงนิวเคลียร์ไม่มีที่จะต่อต้านแรงโน้มถ่วงที่มากมายมหาศาลได้ แกนกลางจนหดตัวเป็นดาวแคราะ จนมีขนาดเล็กเท่าดาวเคราะห์ แล้วปลดปล่อยเปลือกนอกของดาวให้ ฟุ้งกระจายไปในอวกาศ ไกลหลายล้านไมล์
Planetary nebulae ในเอกภพนั้นมีเยอะแยะมากมาย เพราะดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะมีขนาดเท่ากับดวงอาทิตย์ แต่เป็นที่น่าประหลาดใจมากว่า รูปร่างของ Planetary nebular กลับมีหลากหลาย แต่รูปแบบแท้จริงแล้ว จะคล้ายกับ helix nebulae ที่สุด



     เนบิวล่ามืด
Dark nebulae หรือเนบิวล่ามืด
โดยทั่วไปเนบิวล่ามืดมักจะอยู่รวมกับเนบิวล่าสว่าง หรือ เนบิวล่าสะท้อนแสง เพราะเราจะ สามารถมองเห็นเนบิวล่ามืดได้เพราะ ส่วนที่เป็นเนบิวล่ามืดนั้นจะดูดกลืนแสงจากฉากด้านหลัง ไม่ให้มาเข้าตาเรา คล้ายกับว่ามีวัตถุทึบแสงกันอยู่ ซึ่งอาจจะเป็นฝุ่นผงที่หนาทึบมากๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ เนบิวล่ามืดรูปหัวม้า (B33) ในกลุ่มดาวนายพราน (Orion)




     นักดาราศาสตร์ใช้คำว่า เนบิวลา เรียกชื่อสิ่งที่ปรากฏเป็นเมฆหมอกฝ้าอยู่คงที่ท่ากลางดวงดาวบนท้องฟ้า อาจจะปรากฏสว่างเรืองหรือมืดสนิทก็ได้ เรามองเห็นเนบิวลาได้ยาก เพราะแม้แสงที่สว่างก็มีแสงจางแผ่กระจายไม่รวมกันเข้มเป็นจุดสว่างดังเช่นดาวฤกษ์ เราจึงสามารถมองเห็นเนบิวลาบนท้องฟ้าด้วยตาเปล่าได้เพียง 4 แห่งในขณะซึ่งสามารถมองเห็นดาวฤกษ์ด้วยตาเปล่าถึง 5,000 ดวง ความจริงเนบิวลามีอยู่จริงเป็นปริมาณไม่น้อย การที่เราจะตรวจพบหรือไม่ขึ้นอยู่กับความไวของอุปกรณ์ที่ใช้ เนบิวลาที่ทอยู่ในระบบทางช้างเผือกของเรา เรียกว่า Galactic Nebula ซึ่งเป็นกลุ่มก๊าซที่มีความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งกับดาวฤกษ์ในกาแลกซี ซึ่งดวงอาทิตย์ของเราเป็นสมาชิกหน่วยหนึ่ง ตัวอย่างของ Galactic Nebula ชนิดแผ่กระจาย ได้แก่ กลุ่มที่อยู่ในกลุ่มดาว Orion นับเป็นกลุ่มก๊าซและฝุ่นซึ่งใหญ่โตกลุ่มหนึ่งในกาแลกซี กินอาณาเขตกว้างขวางในอวกาศ แผ่คลุมดาวฤกษ์อยู่ภายในองค์ประกอบสำคัญ คือก๊าซไฮโดรเจน ฮีเลียม มากที่สุด และนอกจากนั้นก็มีออกซิเจน และไนโตรเจน เป็นต้น เนบิวลานี้เรืองแสงเพราะถูกกระตุ้นด้วงรังสีอุลตราไวโอเลตจากดาวฤกษ์ที่ร้อนจัดซึ่งอยู่ภายใน และบางส่วนของก๊าซและฝุ่นที่ห่างดาวฤกษ์ร้อนและไม่เปล่งแสงเรืองจะบังคับแสงดาวฤกษ์ที่อยูเบื้องหลังไกลออกไป จึงปรากฏเป็นเนบิวลามืดGalactic Nebula ชนิดเป็นดวงนั้นเป็นกลุ่มก๊าซรูปทรงกลมซึ่งแผ่กระจายออกมาจากการระเบิดของดาวฤกษ์ และปรากฏให้เห็นหลายดวงบนท้องฟ้า เช่นที่เรียกกันว่า เนบิวลาวงแหวน เนบิวลาปู เนบิวลานกฮูก ตามความคล้ายคลึงกับรูปสิ่งของ สัตว์ที่มนุษย์คุ้นเคยกันทั่วไป

     เนบิวลานอกกาแลกซีหรือ Spiral Nebula นั้น เป็นวัตถุจำพวกที่อยู่ไกลห่างออกไปนอกกาแลกซีของเรา เป็นต้นว่า เมฆแมกเจลแลน (Magellanic Clouds) ซึ่งเห็นได้ด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้าของซีกโลกภาคใต้ อยู่ห่างไปขนาดแสงสว่างซึ่งเดินทางได้วินาทีละ 300,000 กิโลเมตร ต้องใช้เวลาเดินทาง 150,000 ปี จึงจะถึงซึ่งเรียกว่าอยู่ห่างไป 150,000 ปีแสง หรือ Spiral Nebula ในทิศทางของกลุ่มดาว Andromeda อยู่ห่างไปถึง 2,200,000 ปีแสง Spiral Nebula มีอยู่มากมาย ตั้งแต่ที่มองเห็นด้วยตาเปล่า จนที่ไกลออกไปแสงริบหรี่ ต้องสำรวจด้วยกล้องโทรทรรศน์ใหญ่ที่สุดในโลก โดยถ่ายภาพเปิดหน้ากล้องนานนับชั่วโมง เท่าที่บันทึกทำทะเบียนไว้ ถึงขนาดความสว่างแมกนิจูดที่ 15 มีถึง 16,000 เนบิวลา เชื่อว่าถ้านับถึงที่แสงหรี่ถึงขนาดแมกนิจูดที่ 23 ซึ่งหรี่ที่สุดที่กล้องโทรทรรศน์ในโลกจะสำรวจได้คงจะมีปริมาณถึง 1,000,000,000 เนบิวลา

     ผลการศึกษาค้นคว้าทางดาราศาสตร์ แสดงว่า Spiral Nebula แต่ละดวงก็คือระบบใหญ่ของดาวฤกษ์ ฝุ่น และก๊าซ ดังเช่นกาแลกซีทางช้างเผือกของเรานี้เอง ถ้าเราออกไปอยู่บนดาวฤกษ์ดวงใดดวงหนึ่งในระบบ Spiral Nebula ของกลุ่มดาว Andromeda แล้วมองกลับมายังกาแลกซีของเรา ก็จะเห็นกาแลกซีมีรูปลักษณะคล้ายคลึงกับที่เราเห็น Spiral Nebula นั่นเอง ดังนั้น Spiral Nebula หรือเนบิวลานอกกาแลกซีก็คือระบบใหญ่ของดาวฤกษ์ ฝุ่นและก๊าซ ซึ่งแต่ละระบบระมีดาวฤกษ์คิดเฉลี่ยประมาณ 800,000,000 ดวง กาแลกซีของเราเป็น Spiral Nebula ค่อนข้างใหญ่มีดาวฤกษ์ประมาณ 100,000,000,000 ดวง 

ที่มา:

Ice core data supports ancient space impact idea


New data from Greenland ice cores suggest North America may have suffered a large cosmic impact about 12,900 years ago.
The climate flip has previously been linked to the demise of the North American "Clovis" people.
The data seem to back the idea that an impact tipped the climate into a colder phase, a point of current debate.
Rapid climate change occurred 12,900 years ago, and it is proposed that this is associated with the extinction of large mammals - such as the mammoth, widespread wildfires and rapid changes in atmospheric and ocean circulation.
All of these have previously been linked to a cosmic impact but the theory has been hotly disputed because there was a lack of clear evidence.
New platinum measurements were made on ice cores that allow conditions 13,000 years ago to be determined at a time resolution of better than five years, report Michail Petaev and colleagues from Harvard University. Their results are published in the journal Proceedings of the National Academy of Sciences.
A 100-fold spike in platinum concentration occurs in ice that is around 12,890 years old, at the same moment that rapid cooling of the climate is indicated from oxygen isotope measurements. This coincides with the start of a climatic period called the "Younger Dryas".
The Younger Dryas started and finished abruptly, and is one of a number of shorter periods of climate change that appear to have occurred since the last glacial maximum of 20,000 years ago.
Each end of the Younger Dryas period may have involved very rapid changes in temperature as the climate system reached a tipping point, with suggestions that dramatic changes in temperature occurred over as short as timescale as a decade or so.
Asteroid apocalypse?
The observations lend credence to earlier, disputed, reports that finds of microscopic grains of diamond and a mineral called lonsdaleite in lake sediments dated to the same time as a possible meteorite impact.
Those measurements resemble the most recent observations, reported last month, of remnants of the Tunguska meteorite impact in Siberia.
Sphere-shaped particles have also been identified in other sites' sediments, which also have been dated to this event.


While the platinum data and the spherical particles add to evidence for an impact event, doubters have pointed out that - as yet - no impact site has been identified.
It has been suggested that debris thrown into the atmosphere as a result of an impact triggered global cooling at a rate as rapid as the climate changes recorded in the past century.
Such rapid climate change makes it difficult for ecologies and societies to adjust.
It is the fluctuation that has been cited as the cause of the extinction of massive mammals like the mammoth, and native cultures such as the Clovis people in North America.
The possible role of cosmic impacts in causing huge changes to life on Earth is receiving increased attention.
The mass extinction 66 million years ago that wiped out the dinosaurs is generally believed to be linked to a space strike in southern Mexico's Yucatan Peninsula.
Recently, a group of scientists led by Eric Tohver at the University of Western Australia reported that the biggest extinction of all, which occurred 252.3 million years ago at the end of the Permian period, could be explained by an asteroid impact in Brazil.
Nasa is now focusing resources towards detection of future Earth-threatening asteroids.
The US space agency received more than 400 responses to their recent request for ideas to feed into their Asteroid Grand Challenge, which includes plans to redirect a space rock and send humans to study it.

source: