Friday, September 27, 2013

“การจำนำสินค้าเกษตร vs การประกันราคาสินค้าเกษตร” กับสาระที่มักจะถูกมองข้าม (ตอนที่ 1)



File:Maler der Grabkammer des Sennudem 001.jpg


ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงความแตกต่างระหว่างการจำนำสินค้าเกษตรกับการประกันสินค้าเกษตรจากมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์เท่านั้น และขอกล่าวกับท่านผู้อ่านก่อนว่าในบทความนี้จะไม่มีการวิเคราะห์ในมุมมองของการบริหาร, การเมือง,การทุจริตคอรัปชั่น ฯลฯ เนื่องจากสิ่งเหล่านั้นเป็นปัจจัยที่ไม่ได้เกิดจากสาระสำคัญของ “การจำนำ” และ “การประกัน” แต่สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาของการปฏิบัติของผู้ที่จะนำไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้หากผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจในปัญหาและมีความจริงใจในการจัดการ
ผมเคยได้ยินผู้คนมากมายวิพากษ์วิจารณ์ถึงการจำนำสินค้าเกษตรและการประกันว่านโยบายใดนั้นจะส่งผลดีกว่ากัน แต่ในความเป็นจริงนั้นเราไม่สามารถสรุปได้ว่านโยบายใดเหนือกว่าทั้งนี้เนื่องจากการที่จะสรุปได้ว่าสิ่งใดดีกว่านั้นขึ้นอยู่กับสถานะภาพผู้พูดเช่นกัน ในตอนที่ 1 เราจะเริ่มจากการวิพากษ์ถึงหัวใจของการจำนำสินค้าเกษตรก่อน และตามมาด้วยการประกันราคาสินค้าเกษตรในตอนที่ 2 ครับ

การจำนำสินค้าเกษตร
การจำนำสินค้าเกษตรเป็นการที่รัฐบาลจะใช้งบประมาณจำนวนหนึ่งในการรับจำนำสินค้าเกษตรเหมือนกับการที่โรงรับจำนำรับสินค้าที่ทั่วไป คือ ผู้รับจำนำจะให้เงินกับผู้ที่นำของมาจำนำ และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาผู้ที่มาจำนำจะต้องทำการไถ่ถอนสินค้าคืนจากผู้รับจำนำโดยการชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย มิฉะนั้นผู้รับจำนำก็จะทำการยึดสินค้านั้นไป
การจำนำสินค้าเกษตรโดยรัฐบาลนั้นแตกต่างไปเพียงเล็กน้อย เนื่องจากผู้รับจำนำ (ในที่นี้คือรัฐบาล)จะทำการรับจำนำสินค้า(เช่น ข้าว เป็นต้น)ด้วยราคาที่สูงกว่าท้องตลาด จึงเป็นธรรมดาที่การไถ่ถอนนั้นจะไม่เกิดขึ้น ดังนี้ถ้าจะมองว่าการจำนำสินค้าโดยรัฐนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการที่รัฐบาลมาซื้อสินค้าเหล่านั้นนั่นเอง
ประเด็นสำคัญของวิธีการนี้คือ รัฐบาลได้ผันตัวมาเป็นหนึ่งในผู้เล่นในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของสินค้านั้นๆ และเนื่องจากโดยปกติรัฐบาลจะมีเงินทุนในการจัดซื้อค่อนข้างสูง (ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ออกนโยบายอีกละครับว่าจะใช้งบประมาณมากเท่าใด) จึงไม่ใช่เลือกแปลกที่จะทำให้การซื้อดังกล่าวส่งผลถึงความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของสินค้านั้นในตลาด
เราลองมาพิจารณา Supply Chain แบบย่อด้านล่างนี้ครับ






คำว่าพ่อค้าคนกลางนั้นผมหมายความรวมไปถึงโรงสี หรือผู้รับซื้อจากเกษตรกรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้ากำไร
รัฐบาลนั้นจะแทรกอยู่ตรงกลางระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค โดยจะพยายามควบคุมราคาสินค้าผ่านการแทรกแซงกลไกตลาดด้วยการทำตัวเป็นพ่อค้าคนกลางที่มีอำนาจในการซื้อขายสูงนั่นเอง ถ้าเราพิจารณารอยต่อแรก





รัฐบาลอยู่ในสถานะเดียวกับพ่อค้าคนกลาง และคอยทำหน้าที่ซื้อสินค้าในปริมาณมาก และราคาที่สูงกว่า ด้วยความหวังที่ว่าการกระทำดังกล่าวจะผลักดันให้อุปสงค์ของพ่อค้าคนกลางต่อเกษตรกรเลื่อนไปทางขวา หรือ ยอมซื้อสินค้าในราคาแพงขึ้นนั่นเอง (เลื่อนจากจุด A ไป จุด B)






พื้นที่โซนสีต่าง จากเดิมมูลค่าการซื้อขายของพ่อค้าคนกลางคือพื้นที่สีเหลือง + สีฟ้า เปลี่ยนเป็น สีฟ้า + สีส้ม จะมากขึ้นหรือน้อยลงนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยราคาและความสามารถในการซื้อของกลุ่มคนเหล่านั้น ซึ่งถึงแม้จะสูงขึ้นหรือไม่ก็ตามแต่ต้นทุนของพ่อค้าคนกลางก่อนที่จะนำสินค้านี้เข้าขายในตลาดได้สูงขึ้นแล้ว
สิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือพื้นที่โซนสีเขียวและสีเหลือง ซึ่งคือมูลค่าที่รัฐบาลจะต้องทำการชำระ อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าเมื่อการรบกวนระบบเกิดขึ้นจะทำให้เกษตรกรเพิ่มกำลังการผลิตจาก Q0 เป็น Q2 ขณะที่ผู้รับซื้อลดกำลังซื้อจาก Q0 เป็น Q1 นั่นก็หมายความว่ารัฐบาลจะต้องคอยรับซื้อเป็นปริมาณ Q2-Q1

ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีรัฐบาลจะต้องเก็บข้าวจำนวนมากหากมีการผลักดันราคาขึ้นสูง (P0 ไปเป็น P2)

คราวนี้เรามาพิจารณารอยต่อชิ้นต่อไปคือความสัมพันธ์ระหว่างพ่อค้าคนกลางกับผู้บริโภคกันครับ






เมื่อรัฐบาลแฝงตัวอยู่ในกลุ่มพ่อค้าคนกลางดังนั้นรัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องบริหารการขายสินค้าออกอย่างระมัดระวัง เพื่อมิให้ส่งผลต่อกลไกตลาดด้านนี้ เพราะถ้าหากรัฐบาลเทสินค้าที่มีออกมาสู่ท้องตลาดก็จะทำให้ราคาสินค้าตกลงอย่างแน่นอน
ดังนั้นรัฐบาลและพ่อค้าคนกลางจำเป็นต้องจำหน่ายสินค้าในราคาสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนของสินค้านั้นสูงขึ้น
เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลจะมีความพยายามในการใช้การค้าลักษณะรัฐต่อรัฐ ทั้งนี้ก็เป็นความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการรบกวนกลไกราคานั่นเอง

สรุป 
ภายใต้สมมติฐานว่า ไม่มีการทำการใดๆ ที่เป็นการทุจริต แอบอ้าง สวมสิทธิ หรือฉ้อโกงในรูปแบบอื่นๆ โครงการนี้จะส่งผลดังนี้ครับ
1. เกษตรกร = ผลดี: เนื่องจากราคาสินค้าดีขึ้น ผลประโยชน์ส่วนเพิ่มคือพื้นที่สีเขียว + สีส้ม
2. พ่อค้าคนกลาง = ผลเสีย: เนื่องจาก
     2.1 มีผู้เล่นที่แข็งแรงเข้าสู่ตลาด และยังรับซื้อสินค้าในราคาที่สูงกว่า
     2.2 ต้นทุนสินค้าแพงขึ้น ทำให้ต้องขายสินค้าแพงขึ้นอาจส่งผลต่อการแข่งขันกับผู้เล่นอื่นๆ
3. ผู้เสียภาษี = อาจจะเป็นผลดี หรือผลเสีย: ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารสินค้าของรัฐบาล หากบริหารได้ดีจะส่งผลดีเนื่องจากใช้งบประมาณน้อยลงไปมาก และสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ แต่หากการจัดการไม่ดีก็จะทำให้สูญเสียงบประมาณมาก แต่มีแนวโน้มที่จะส่งผลดีมากกว่า
4. ผู้บริโภค = ผลเสีย: มีความเป็นไปได้ที่ราคาสินค้าจะสูงขึ้น เว้นแต่จะมีการเทขายจากภาครัฐ (แต่การเทขายจะส่งผลเสียอย่างมากต่อพ่อค้าคนกลาง และตัวรัฐบาลเอง)
ในบทความต่อไปเราจะมาวิพากษ์ถึงหลักการ และผลของการใช้นโยบายประกันราคาสินค้าเกษตรกัน และจะนำผลดีผลเสียมาเปรียบเทียบกันอีกครั้งในตอนสุดท้ายครับ

ที่มา:
1. http://www.oknation.net/blog/econhermit/2012/10/05/entry-1

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment